ซัมบัล (Sambal) ซอสที่ทำมาจากพริกนี้นิยมกินกันมากในอาหารอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ซัมบัลเป็นทั้งซอส เครื่องเคียง และเครื่องจิ้ม ในตำราอาหารบางเล่มก็จัดไว้ในประเภทน้ำพริก ช่วยเพิ่มรสให้กับอาหาร ทำมาจากพริกหลายชนิด เช่น พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนูสวน พริกของแต่ละท้องถิ่น พริกคาเยน หรือพริกฮานาเบโร บดผสมรวมกับน้ำส้มสายชูที่หมักจากข้าว เกลือ และน้ำตาล
ทุ่งสังหาร นรกบนดินในยุคเขมรแดง
คำว่า genocide เป็นคำที่รุนแรง มันมากกว่าคำว่า murder ที่แปลว่าการฆ่า หรือฆาตกรรม และมากกว่าคำว่า kill ที่แปลว่า การฆ่า genocide เป็นคำที่พูดถึงการฆ่าคนเป็นจำนวนมาก เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือการทำให้ชาติใดชาติหนึ่ง กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งสูญพันธุ์ให้ได้
อนุสรณ์นี้หากมองดูเพียงภายนอกแล้ว หลายคนอาจจะคิดว่ามันก็คืออนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงเอกราชของชาวเขมรเท่านั้น แต่ใครจะรู้ว่าภายในมันกลับบรรจุไว้ด้วยเรื่องราวอันโหดเหี้ยมและภาพอันน่าสะพรึงกลัวที่ไม่มีวันจะลบเลือนไปจากความทรงจำของชาวเขมรได้เลย เพราะภายในอนุสรณ์สถานเจืองเอ็กนั้นคือสถานที่เก็บหัวกะโหลกของชาวเขมร เหยื่อของการสังหารโหดที่เรียกว่า “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” เมื่อประมาณเกือบ 30 ปีที่ผ่านมา มันจึงเป็นเสมือนสถานที่แสดงถึงความโหดร้ายและระลึกถึงผู้เสียชีวิตชาวเขมรที่ต้องดับดิ้นลงไปด้วยน้ำมือของคนชาติเดียวกัน
คุกตวลสเลง ความป่าเถื่อนที่โลกต้องจารึก
ตำนานสังหารที่โลกไม่เคยลืม
บทบันทึกความเลวร้ายที่ปรากฎในประวัติศาสตร์
ที่มนุษย์กระทำต่อมนุษย์ด้วยกันอย่างป่าเถื่อนทารุณ
โศกนาฏกรรม “กัมพูชา” ช่วงเขมรแดงเรืองอำนาจหลังจากยึดกรุงพนมเปญได้ในปี 2518
ทั่วทั้งแผ่นดินแดงฉานด้วยเลือดประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ตกเป็นเหยื่อความโหดเหี้ยม
พระศพของกษัตริย์ลาวองค์สุดท้าย
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในประเทศลาวเมื่อปี 1975 นั้น รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งเป็นชื่อใหม่ของประเทศลาวในระบอบคอมมิวนิสต์ ได้แต่งตั้งให้อดีตพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาเป็นที่ปรึกษาประธานประเทศ โดยยังขนานนามให้เกียรติพระองค์ว่า “เสด็จเจ้าศรีสว่างวัฒนา” และได้แต่งตั้งเจ้าสุวรรณภูมา นายกรัฐมนตรีคนสุดท้ายของพระราชอาณาจักรลาว ให้เป็นที่ปรึกษาคณะรัฐบาล และยังยินยอมให้พระองค์ได้ประทับอยู่ที่พระราชวังหลวงพระบางต่อไป ในเวลานั้น แม้ว่าพระองค์ไม่ได้มีตำแหน่งใดๆก็ยังพอใจที่จะอยู่อย่างสมถะต่อไป ทุกอย่างแทบเหมือนเดิมเพียงแต่ไม่ได้มีใครเรียกพระองค์ว่า “เจ้ามหาชีวิต” แล้ว
คันคากรบพญาแถน สงครามตามล่าหาน้ำ
(ซ้าย) กบตัวเดียวบนหน้ากลองทองมโหระทึก พบที่ ต. ท่าเรือ อ. เมือง จ. นครศรีธรรมราช (กลาง) กบซ้อนกัน 2 ตัว บนหน้ากลองทองมโหระทึก จากอุษาคเนย์ (ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่ The Shanghai Museum ป้ายจัดแสดงระบุว่าสร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1000) (ขวา) กบซ้อนกัน 3 ตัว บนหน้ากลองทองมโหระทึก
เมื่อฝนแล้ง น้ำแห้งขอดหาย บรรพชนคนอุษาคเนย์ดึกดำบรรพ์ 3,000 ปีมาแล้ว มีพิธีขอฝนจากสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ครึ่งน้ำครึ่งบก เช่น คันคาก หรือคางคก และกบ
[คันคาก เป็นคำลาวสองฝั่งโขง ตรงกับคางคกของไทย ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภาคกลาง]
เพราะสัตว์พวกนี้มักปรากฏตัวและส่งเสียงดังเมื่อฝนตกน้ำนองทั่วไป ให้ความเจริญงอกงามอุดมสมบูรณ์แก่ผู้คนทุกชนเผ่าที่มีหลักแหล่งอยู่เขตมรสุม แล้วทำนาทำไร่โดยอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติเท่านั้น เรียกนาทางฟ้า เพราะยังล้าหลังทางเทคโนโลยี
คนดั้งเดิมลุ่มน้ำโขง จึงผูกนิทานพญาคันคาก เพื่อเพิ่มพลังให้ชุมชนร่วมกันต่อสู้แก้ไขความแห้งแล้ง
ซึ่งเป็นวรรณกรรมคำบอกเล่าคลาสสิคสุดยอดที่สุดของตระกูลไทย-ลาว (แต่ไม่ได้รับยกย่องจากระบบการศึกษาไทย) จะสรุปย่อที่สุดมาไว้ดังนี้
ยุทธการแบคกัง (Battle of Baekgang) ปิดฉากสามก๊กแห่งเกาหลี
ยุทธการแบคกัง หรือที่เรียกในชื่อญี่ปุ่นว่า สงครามแห่งฮากุสึคิโนเอะ เป็นการรบระหว่างแพคเจและอาณาจักรยามาโตะแห่งญี่ปุ่น กับกองทัพพันธมิตรของซิลลาและราชวงศ์ถังของจีน สมรภูมินี้เกิดขึ้นในที่ราบลุ่มแม่น้ำเกอุมในมณฑลจอลลาบุคโด ประเทศเกาหลี
เมื่อพันห้าร้อยปีก่อน คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งเป็นสามอาณาจักรหรือสามก๊ก ประกอบด้วย แพคเจ ซิลลาและโกคูรยอ โดยทั้งสามอาณาจักรต่างก็ทำสงครามกันมาหลายร้อยปีเพื่อครองดินแดนตลอดคาบสมุทร นอกจากนี้โกคูรยอยังทำสงครามกับราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถังของจีนที่มารุกรานด้วย อย่างไรก็ตาม ทั้งสามอาณาจักรก็ไม่ได้อยู่ในสภาพของศัตรูกันอย่างถาวร โดยบางครั้งสองในสามอาณาจักรจะรวมตัวเป็นพันธมิตรกันและทำสงครามต่อต้านอีกอาณาจักรหนึ่ง Read More
กลองมโหระทึก
“กลองมโหระทึก” เป็นกลองชนิดหนึ่งที่ทำจากโลหะผสมระหว่างทองแดง ดีบุกและตะกั่ว เรียกว่า สำริด บนหน้ากลองมักทำรูปกบประดับตกแต่งจึงมีอีกชื่อว่า “กลองกบ”
เมื่อราว 3,000 ปีก่อน กลองมโหระทึกเป็นเครื่องมือโลหะ ที่คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ผลิตขึ้นเพื่อใช้ตีประโคมในพิธีกรรมความเชื่อต่าง ๆ เช่น พิธีศพ พิธีเลี้ยงผี พิธีขอฝน ฯลฯ และเป็นลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมความเชื่อที่มีร่วมกันของคนที่เคยอาศัยในดินแดนสุวรรณภูมิ ( เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน)
พระธาตุอินทร์แขวน 1 ใน 5 มหาเจดีย์พม่า
เจดีย์ไจก์ทิโย (Kyaiktiyo Pagoda) หรือในชื่อเรียกที่คนไทยรู้จัก คือ “พระธาตุอินทร์แขวน” เป็น 1 ใน 5 มหาบูชาสถานสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญสูงสุดของชาวพม่า ตั้งอยู่ในเมืองไจก์โท่ (Kyaikhato) อยู่ห่างจากตัวเมืองพะโคไปทางเหนือประมาณ 70 กิโลเมตร
มีความเชื่อมาแต่ครั้งโบราณว่า พระอินทร์ได้เสด็จลงมาจากสรวงสวรรค์ นำพระธาตุมาวางไว้ที่ยอดผา เพื่อให้ผู้คนได้มาเคารพสักการะ เจดีย์นี้
คำสาปท้าวศรีโคตรบอง
เวียงจันทน์ล้านช้าง อย่าให้ฮุ่งเฮืองศรี
คนบ่มีสีลธรรม อยู่คองเมืองบ้าน
ผู้ใดมาครองสร้าง ปกครองตุ้มไพร่
ขอให้ฮุ่ง เพียงช้างพับหู
ฮุ่งเพียงงูแลบลิ้น ศรีโคตรสาปแช่งเวียง
ตำนานท้าวศรีโคตรพระตบองเพชรสาปแช่งเวียงจันทน์บ่ให้ฮุ่งเฮือง
เป็นตำนานที่ถืกเล่าขานกันมาเป็นเวลาช้านาน
สาเหตุที่ทำให้ท้าวศรีโคตรสาปแช่งเวียงจันทน์นั้นมีเรื่องเล่าสืบมาดังนี้
หิกะยัต ปันหยี สะมิหรัง (อิเหนาต้นฉบับ) ตอนที่ 9: and they lived happily ever after
กิระดังได้สดับมาถึงเรื่องราวอันพิสดารเหลือพรรณาของท่านดาโต๊ะ
หลังจากมีข้าศึกมาประชิดเมือง ทำให้อิเหนาพลาดโอกาสจับกำบูจินตะหราพูนลาภยาราไนก้า ท้าวเธอจำต้องกลั้นพระอัสสุชล ถือพระแสงกริชกาละมิตานี ขี่มหาอาชาไนยรังคะรังคิตออกปกป้องแผ่นดิน
ลับหลังอิเหนานั้น ก้าโหละนาหวัง และนิลวาตีเห็นเป็นโอกาสจึงเข้าไปผลัดกันกันยั่วยวนกำบูจินตะหรา เรียกให้มาเปิดคอนเสิร์ตในวัง พร้อมกับประทานทรัพย์สมบัติต่างๆมากมาย หวังเอากำบูรูปงามมาเป็นชู้รัก กำบูจินตะหราก็เพียงเซิ้งลูกทุ่งไปตามหน้าที่ แต่มิได้แสดงอาการรักตอบพวกนางเลย
เมื่ออิเหนาปราบศัตรูเสร็จ ได้ลูกสาวศัตรูที่เป็นตัวประกอบเจือจางจนผมขี้เกียจเขียนชื่อมาเป็นเมียอีกสองคน จึงกรีฑาทัพกลับเมืองกาหลัง